top of page

ข้อมูลในเวปไซต์นี้

เป็นข้อมูลจาก

การศึกษาและความคิดเห็นส่วนตัวของผม

คงเป็นประโยชน์แก่ผู้สะสมไม่มากก็น้อย

เหรียญมทบ เนื้อนวะโลหะ

 

         จำนวนสร้าง เนื้อนวะ 10,000 เหรียญ แบ่งเป็น

1. บล็อคนิยมไม่มีเนื้อเกินระหว่าง หูเหรียญและตัวเหรียญ 

2. บล็อคธรรมดา มีเนื้อเกินระหว่าง หูเหรียญ และตัวเหรียญ

 

         ค่านิยม ปัจจุบัน

1. บล็อคนิยม อยู่ที่ 25,000 บาทขึ้นไป แล้วแต่สภาพ

2. บล็อคธรรมดา อยู่ที่ 15,000 บาทขึ้นไป แล้วแต่สภาพ

ทั้งนี้ราคาอาจต่ำกว่า หรือสูงกว่า ขึ้นอยู่กับความพอใจ

ของผู้ซื้อและผู้ขายเป็นสำคัญ

 

          เนื้อเงิน เนื้อนวะ และเนื้อทองแดง ทั้งบล็อคนิยม และ บล็อคธรรมดา สามารถใช้ข้อมูลนี้เป็นแนวทางในการสะสมได้ แต่อาจมีความแตกต่างอยู่บ้าง ในเรื่องตัวตัดขอบเหรียญ และความหนาของเหรียญ ซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป

            เนื้อนวะ บล็อคนิยม ยังอาจแบ่งได้อีก เป็น แก่ทอง, แก่เงิน และ เนื้อกลับ เป็นต้น

           ซึ่งขึ้นอยู่กับส่วนผสมของโลหะที่ไม่เข้ากันขณะทำการปั๊มเหรียญ

           

            หลักในการพิจารณา เหรียญมทบ เนื้อนวะ บล็อคนิยม

1. พิจารณา ความคมชัดของตัวหนังสือทั้งด้านหน้า และด้านหลัง ต้องคมชัด ไม่ลีบแบน ไม่ใหญ่เกินไป และ มีความเป็นเอกลักษณ์ (ดูได้จากภาพขนาดในหัวข้อ ตำหนิเหรียญ)

2. พิจารณา ความคมชัดของรูปหลวงพ่อ กระแสการปั๊มบริเวณพื้นเหรียญ ลักษณะเหรียญด้านหน้า ที่เป็นแอ่งกะทะ ลึกอย่างมีมิติ

3. พิจารณา ตำหนิต่าง ๆ  ที่มี เส้นสายต้องเป็นธรรมชาติ ไม่แข็งทื่อ ต้องมีความคมชัด ทั้งนี้ต้องใช้ประสบการณ์ในการดูพระ ของแต่ละท่านประกอบด้วย

 

            ข้อสังเกตุ หรือ ตำหนิต่าง ๆ 

ด้านหน้า

 

1. เส้นในวงแขน นักสะสมทุกท่านต้องจดจำลักษณะ เส้นในวงแขน ของเหรียญมทบ เนื้อนวะโลหะ บล็อคนิยมให้แม่น ๆ เส้นในวงแขนจะมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ มีความคม เป็นธรรมชาติ ของเก๊ทำได้ใกล้เคียง ถ้าจำเพียงตำหนิ โดนแน่นอน ส่วนเส้นในแนวดิ่งในวงแขน ผมขอเรียกว่าเส้นขนจั๊กกะแร้ละกัน ต้องคม ๆ มีสามหรือสี่เส้น แล้วแต่ความสมบูรณ์ของเหรียญ 

       อีกจุดหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กัน คือ บริเวณด้านนอกของข้อศอกขวาของหลวงพ่อ จะมีเส้นคม ๆ แหลมยื่นออกมา

2. บริเวณ หัวหลวงพ่อ จดจำเส้นหน้าผาก ลึกอย่างมีมิติ บริเวณหัวหลวงพ่อ ทางด้านซ้ายมือของหลวงพ่อ จะมีรอยขีด ๆ สามรอยติดกัน และ ขีดเล็ก อีก 1 ขีด ถัดลงมา หัวด้านขวามือของหลวงพ่อ จะมีเส้นจากด้านข้างยาวมาถึงกลางหัวหลวงพ่อ (อีกตัวตัด ไม่มี รอย และเส้น)

3. ความคมของดวงตาหลวงพ่อ ในบริเวณตาขาวของหลวงพ่อ จะมีเส้นวิ่งแนวดิ่ง คม ๆ ทั้งนี้ต้องจดจำลักษณะ และเอกลักษณ์ให้ดี เพราะ ของปลอมก็มีแต่ไม่คมชัด บริเวณจีวรหลวงพ่อ โดยเฉพาะในร่องจีวรต่าง ๆ จะมีเส้นวิ่งแนวดิ่ง คม ๆ ให้พิจารณา และในร่องอุ้งมือหลวงพ่อที่ประสานกัน เมื่อเอียงเหรียญส่องจะเห็นเส้นคม ๆ จำนวนมาก

4. ในสภาพเหรียญที่ค่อยข้างสมบูรณ์ จะมีเส้นจาก ตัว ห หีบของคำว่าหลวงพ่อ ยาวทะลุวงแขนขวาหลวงพ่อ พาดผ่านจีวรและ ผ่านจุด สามจุดที่อยู่บนจีวร ทางด้านซ้ายของหลวงพ่อ (ทั้งนี้ต้องเอียงเหรียญทำมุมดี ๆ จึงจะสามารถเห็นได้)

 

 

ด้านหลัง

 

1. สิ่งที่ต้องดูเป็นอันดับแรกของเหรียญมทบ เนื้อนวะ บล็อคนิยม คือ เส้นผ่านตัวนะ เป็นเส้นบาง ๆ ผ่านตัวนะยาวไปจนถึงตัวหนังสือบรรทัดแรก ในกรณีเหรียญที่สมบูรณ์ อาจเห็นเส้นผ่านตัวนะยาวไปจนถึงตัวหนังสือ บรรทัดที่สอง หรือ บางเหรียญอาจมีเส้นผ่านตัวนะ ถึง 2 เส้น และ อาจมีเส้นที่ขนาดกัน แต่ไม่ผ่านตัวนะ รวมทั้งหมดถึง 3 เส้นด้วยกัน

 

2. บันไดลิง เป็นขีดเล็ก ๆ เหมือนขั้นบันได อยู่ด้านขวามือเรา หลังตัวนะ จะมี 4-5 ขั้น ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของเหรียญนั้น ๆ ข้อสังเกตุของข้าพเจ้าอีกประการหนึ่งที่ใช้ในการดูเหรียญคือ เส้นรัศมีรอบ ๆ ตัวนะ ที่เกิดจากการปั๊ม จะมีความคมชัด เป็นเอกลักษณ์ รวมถึงสามารถใช้เป็นตัวตัดสินว่าเหรียญนั้นมีความสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน

 

3. บรรทัดที่ 1ให้ดูตัวหนังสือคำว่า ภิขุ ตัว ภ สำเภา จะมีขีดลาง ๆ ด้านใน หางตัว ภ สำเภา จะมีเส้นแตก 2 เส้น โค้ง เป็นธรรมชาติ มีเส้นสั้น และเส้นยาว 

             คำว่า ขุ จะมีเส้นเชื่อมระหว่าง ข ไข่ และ สระ อุ (ตัวบาลี) มีความคมชัด อ่อนช้อย เป็นธรรมชาติ ด้านหน้าสระ อุ (ตัวบาลี) เมื่อตะแคงเหรียญให้ได้มุม จะเห็นกระแสเหรียญ ลักษณะเหมือนน้ำพุ พุ่งออกมาจากซ้ายไปขวาและ หักขึ้นด้านบน

 

4. บรรทัดที่ 2 เส้นจากสระ อิ หงาย ยาวขึ้นไปด้านบน เฉียงมาทางด้านขวา และ เส้นแผ่ว ๆ บนตัวหนังสือ คำว่า มณฑล ยาวขึ้นไปด้านบน

 

5. เส้นตรงเฉียงขวา หน้าคำว่า ที่ ยาวขึ้นไปจนชนตัวหนังสือ บรรทัดที่ 3 อาจจะดูยากนิดหน่อย ต้องเอียงเหรียญให้ได้มุมดี ๆ

 

6. กลุ่มเม็ดขี้กลาก ที่กระจายอยู่ทั่วทั้งเหรียญด้านหลัง เช่น ระหว่างตัวหนังสือบรรทัด ที่ 2 และ 3 รวมถึงด้านล่างของตัวหนังสือบรรทัดที่ 3 ด้วย ทั้งนี้ต้องดูความเป็นธรรมชาติของขี้กลากด้วย

 

เรื่องของตัวตัด

                เหรียญ มทบเนื้อนวะ บล็อคนิยม มีตัวตัดอยู่ 2 ตัว ซึ่งในการเทียบตัวตัด จะต้องใช้เหรียญสองเหรียญประกบกัน แล้วเทียบทีละจุด ผมไม่แนะนำให้จดจำ ฟันของตัวตัดที่ตำแหน่ง 10.00 น ถึง 11.00 น เพราะตัวตัดบริเวณนั้นมีลักษณะเป็นร่องลึกใหญ่ ผมเชื่อว่าหากใช้ตะไบ ฝนให้เป็นร่อง ก็สามารถสร้างความสำคัญผิดให้แก่ผู้เช่าหาได้

 

                ความยากของการพิจารณาตัวตัดอีกประการหนึ่งคือ ฟันที่เกิดจากตัวตัดมีขนาดเพียง 1 ใน 3 หรือ อาจเพียง 1 ใน 4 ของ ความกว้างของขอบเหรียญเท่านั้น เนื่องจากเหรียญมีความแข็งและหนา จึงทำให้เห็นเพียงรอย เหมือนรอยฉีกขนมปังเท่านั้น (มทบ เนื้อนวะ มีความหนาของเหรียญมากกว่า มทบ เนื้อเงิน)

              

                  สรุป

      ตัวตัดที่ 1ผมขอเรียกว่า ตัวตัดนวะ เพราะจะพบมากในเนื้อนวะ บล็อคนิยม คือ

1. บริเวณ หูเหรียญ ทางด้านขวามือเรา จะมีรอยจิกที่เกิดขึ้น บนตัวตัดเหรียญเข้ามาประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของเหรียญ ซึ่งตัวตัดนวะส่วนมากจะมีรอยนี้ แต่ถ้าหากไม่เจอรอยนี้ ให้เปรียบเทียบหลาย ๆ ตำแหน่งร่วมกัน

 

2. บริเวณ ตำแหน่ง ตรงกับเลข 2 ของ 2518 จะมีรอยตัวตัดที่เป็นรอยนูน 1 รอย คม ๆ

 

3. บริเวณ 10.00 น ที่มีร่องลึกลงไป 

 

       ส่วนตัวตัดที่ 2 ผมขอเรียกว่า ตัวตัดเงิน ตัวเหรียญไม่มีเอกลักษณ์ให้จดจำได้ ผมยังยืนยันให้ใช้วิธี 2 เหรียญประกบกันเหมือนเดิม แต่ อาจจะดูได้จากรอยตัวตัดบริเวณ หูเหรียญ ทางด้านซ้ายมือเรา ที่เป็นรอยคม ๆ ชัดเจน บางเหรียญ สามารถเห็นเป็นรอยดุ้งมาทางด้านหลังเมื่อมองจากด้านหลังเหรียญ

          สำหรับตัวตัดเงิน มีจุดสังเกตุทางด้านหลังของหูเหรียญ อีกจุดหนึ่ง จะปรากฏรอยบริเวณ 3.00 -5.00 น ติดกับรูเจาะหูเหรียญ (สามารถดูภาพประกอบในหัวข้อ ตัวตัด ซึ่งจะเข้าใจได้มากขึ้น)

bottom of page