top of page
          เหรียญมทบ เนื้อเงิน

 

         จำนวนสร้าง เนื้อเงิน 2518 เหรียญ แบ่งเป็น

     1. บล็อคนิยมไม่มีเนื้อเกินระหว่าง หูเหรียญและตัวเหรียญ 

     2. บล็อคธรรมดา มีเนื้อเกินระหว่าง หูเหรียญ และตัวเหรียญ

 

         ค่านิยม ปัจจุบัน

     1. บล็อคนิยม อยู่ที่ 40,000 บาทขึ้นไป แล้วแต่สภาพ

     2. บล็อคธรรมดา อยู่ที่ 30,000 บาทขึ้นไป แล้วแต่สภาพ

          ทั้งนี้ราคาอาจต่ำกว่า หรือสูงกว่า ขึ้นอยู่กับความพอใจ

      ของผู้ซื้อและผู้ขายเป็นสำคัญ

         

            หลักในการพิจารณา เหรียญมทบ เนื้อเงิน 

      สามารถใช้หลักในการพิจารณาเช่นเดียวกับเหรียญมทบ เนื้อนวะโลหะ  แต่ก็มีข้อแตกต่าง ระหว่างเนื้อเงิน กับเนื้อนวะ คือ  ความหนาของเหรียญ เหรียญเนื้อเงินจะมีความบาง น้อยกว่า เนื้อโลหะ (สามารถดูในภาพประกอบในหัวข้อ ตำหนิเหรียญ)

            เหรียญมทบ เนื้อเงินส่วนใหญ่ เมื่อเทียบกับเนื้อนวะ ปลายจมูกของหลวงพ่อ จะโด่งกว่า ทั้งนี้ เหรียญมทบ เนื้อเงิน จะมาพร้อมกล่องกำมะหยี่สีแดง ส่วนเนื้อนวะ นั้น จะอยู่ในซองพลาสติก หนา ๆ ซึ่งทำให้เหรียญนวะส่วนใหญ่ จมูกจะสวยสู้เนื้อเงินไม่ได้

 

             เหรียญมทบ เนื้อเงิน มีตัวตัด 2 ตัว ซึ่งทั้ง 2 ตัว เป็นแบบเดียวกันที่ใช้กับเนื้อนวะ ซึ่งผมยังคงยืนยันให้ดูตัวตัดโดยการนำเหรียญทั้ง 2 เหรียญมาประกบกัน เพื่อป้องกันการผิดพลาด เพราะจากการสังเกตุ รอยฟันตัวตัด จะไม่เป็นรอยจนสุดความหนาของเหรียญ แต่ก็ยังสามารถเทียบได้ง่ายกว่า เนื้อนวะ ซึ่งมีรอยฉีกขนมปังประมาณ 3 ใน 4 ของความหนาของเหรียญ (เนื้อเงิน มีรอยฉีกขนมปัง 1 ใน 3 ของความหนาของเหรียญ)

 

                      ทั้งนี้สามารถสรุปเรื่องตัวตัดได้ดังนี้ คือ

           ตัวตัดที่ 1 ผมขอเรียกว่า ตัวตัดนวะครับ เพราะว่าตัวตัดตัวนี้เจอมากในเนื้อนวะ บล็อคนิยม มีจุดสังเกตุ ดังนี้คือ

           1 . บริเวณ 10.00 น ถึง 12.00 น จะมีรอยฟันคม ๆ ร่องใหญ่ ๆ ให้สังเกตุหลายร่อง ซึ่งนักสะสมส่วนใหญ่ จะดูตรงนี้แล้วฟันธงว่า แท้หรือเก๊กันเลยทีเดียว แต่ สำหรับผมแล้ว ตัวตัดส่วนนี้เป็นเพียง 1 ในวิธีการดูเหรียญมทบ ของผม ซึ่งผมเคยพูดถึงเหตุผลที่ไม่นำรอยตัวตัดตรงนี้มาฟันธง เพราะ รอยที่เป็นร่องลึก สามารถทำได้โดยการนำตะไบมาถูเพื่อให้เห็นเป็นร่องใหญ่ ๆ ซึ่งหากไม่ได้ใช้วิธีการนำเหรียญ 2 เหรียญ มาประกบกัน ก็อาจทำให้เกิดการสำคัญผิดได้

           2. บริเวณ เลข 2 ของ 2518 ตัวตัดตรงนี้ จะมีรอยนูน คม ๆ ของตัวตัดเป็นรอยใหญ่ 1 รอย

           3. บริเวณ หูเหรียญด้านซ้ายมือของหลวงพ่อ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีรอยจิก จากทางด้านหลังเหรียญ ประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของเหรียญ หากไม่มีรอยนี้ ให้กลับไปดูข้อ 1 และ 2 เปรียบเทียบกันอีกครั้ง

             ซึ่งผมแนะนำให้พิจารณาทั้ง 3 ข้อดังกล่าวข้างต้นร่วมกัน

 

            ตัวตัดที่ 2 ผมขอเรียกว่า ตัวตัดเงิน เพราะว่าเนื้อเงิน ทั้งบล็อคนิยมและบล็อคธรรมดา ส่วนใหญ่จะเป็นตัวตัดแบบนี้ และตัวตัดตัวนี้ ผมขอกล่าวไว้ว่า เป็นตัวตัดที่ไม่มีเอกลักษณ์ให้สังเกตุ เพราะบริเวณตัวตัดเหรียญ มีรอยตัดลักษณะคล้าย ๆ กันไปหมด แต่ สิ่งที่ผมสังเกตุได้จากตัวตัดตัวนี้ คือ บริเวณหูเหรียญทางด้านขวามือของหลวงพ่อ จะมีรอยตัดเป็นร่องลึก มีรอยตัดคม ๆ ซึ่งบางเหรียญจะมีลักษณะ เนื้อดุ้งออกมาทางด้านหลัง (บางเหรียญอาจสังเกตุเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไม่ต้องลงกล้อง)

           สำหรับตัวตัดเงิน มีจุดสังเกตุทางด้านหลังของหูเหรียญ อีกจุดหนึ่ง จะปรากฏรอยบริเวณ 3.00 -5.00 น ติดกับรูเจาะหูเหรียญ (สามารถดูภาพประกอบในหัวข้อ ตัวตัด ซึ่งจะเข้าใจได้มากขึ้น)

 

            ทั้งนี้การพิจารณาเหรียญ มทบ เนื้อเงิน ผมอยากให้พิจารณาทั้งตัวตัด และตำหนิต่าง ๆ ให้ครบถ้วนประกอบกัน เหรียญเก๊ปัจจุบัน มีตำหนิเหมือนในตำราที่เห็นกันทั่วไป แต่ความเป็นธรรมชาติ ความหนักเบา ความพริ้วไหวของเส้นต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน 

 

          

 

 

bottom of page